Test on the Accuracy of Basel II by Simone Varotto, ICMA Centre, University of Reading
ผมสนใจคำถามนี้มาสักพักแล้ว และก็ได้บทความของคุณ Simone ช่วยให้เข้าใจชัดเจนขึ้น วิธีการ IRBA ของ Basel II นั้นพิจารณาทั้งความเสี่ยงรายตัวของทรัพย์สินแต่ละชิ้นและ portfolio effect แต่บทความก็ได้แสดงให้เห็นว่าการให้ใช้ corellation แบบ single-factor นั้นทำให้ปริมาณเงินกองทุนที่คำนวณได้นั้น ไม่ได้แม่นยำไปกว่าด้วยวิธี SA มากนัก ซึ่งบทความแสดงให้ดูด้วยการเปรียบเทียบกับการคำนวณด้วยวิธีที่ซับซ้อนกว่า (CreditMetrics)
ผลคือนอกจากจะประเมินเงินกองทุนเกินความจำเป็นแล้ว เงินกองทุนที่กำหนดให้กับทรัพย์สินชิ้นหนึ่งๆ จะไม่สะท้อนความเสี่ยงอย่างชัดเจน ทำให้การนำไปใช้คำนวณ transfer pricing หรือทำ portfolio optimization ได้ไม่ดี
ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ บทความนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ในบางกรณีการคำนวณแบบ SA อาจให้ผลจำนวนเงินกองทุนน้อยกว่าแบบ IRBA ตัวอย่างที่สำคัญคือกรณีที่ portfolio มีอัตราการผิดนัดสูง และมี duration ที่ยาว ซึ่งกรณีนี้ทำให้ธนาคารที่ใช้วิธี SA สามารถทำ regulatory arbitrage ได้โดยการถือทรัพย์สินที่มี duration ยาวๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนเยอะขึ้น โดยไม่ต้องคงเงินกองทุนมากตามอย่างเหมาะสม