Month: March 2016

หนี้ครัวเรือนประเทศไทย เทียบกับรายได้

ผมเห็นนักเศรษฐศาสตร์และสำนักวิจัยต่างๆ ออกมาเตือนหลายปีแล้ว ว่าหนี้ครัวเรือนของประเทศไทยมีระดับที่สูง คือประมาณ 81% ของ GDP เมื่อสิ้นปี 2015 และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นต่อไปอีก ซึ่งหนี้ครัวเรือนที่สูงจะกดดันให้กำลังซื้อและการบริโภคช้าลง และทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้ยาก ได้ยินแล้วก็เลยอยากจะเปรียบเทียบดูว่าตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่ว่านี้สูงต่ำซักแค่ไหนเทียบกับประเทศอื่นๆ เมื่อลองหาดูพบว่าข้อมูลที่เข้าถึงง่ายที่สุดคือตัวเลขของกลุ่มประเทศ OECD ซึ่งแม้ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศตะวันตกก็น่าจะพอเป็นตัวเทียบวัดได้ แต่ปรากฎว่ามันไม่ตรงไปตรงมาขนาดนั้น เพราะข้อมูลหนี้ครัวเรือน (Household Debt) ที่มีให้เข้าถึงได้ดันวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้หลังหักภาษี (Disposable Income) ไม่ใช่เทียบกับ GDP อย่างที่เห็นรายงานกันในสื่อไทย เนื่องจากผมไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ ไม่มีความรู้ว่าวัดเทียบกับอะไรดีกว่ากัน เลยลองหาดูก็เจอคำอธิบายในรายงานชื่อ Debt and (not much) deleveraging ของ McKinsey Global Institute ซึ่งผมคิดว่าวิเคราะห์เรื่องของหนี้ต่างๆ ทั่วโลกไว้ค่อนข้างดี และเค้าก็วัดหนี้ครัวเรือนเทียบกับรายได้หลังหักภาษีเหมือนกัน โดยให้เหตุผลไว้ว่า แต่ละประเทศมีสัดส่วนรายได้ครัวเรือนต่อ GDP ต่างกันเยอะ ดังนั้นการเปรียบเทียบหนี้ครัวเรือนกับรายได้ครัวเรือนจะได้ภาพภาระหนี้ที่ชัดเจนกว่า อัตราภาษีเงินได้ยิ่งต่างกันได้เยอะมาก เมื่อเราสนใจว่าหนี้จะกระทบความสามารถในการใช้จ่ายบริโภคต่างๆ แค่ไหน จึงควรจะดูว่าเมื่อเทียบปริมาณหนี้กับรายได้ที่สามารถเอามาใช้จ่ายได้จริง (หลังจ่ายภาษีเงินได้) แล้วมีระดับที่สูงแค่ไหน ผมลองหาตัวเลข หนี้ครัวเรือนต่อรายได้หลังหักภาษี ของประเทศไทย ปรากฎว่าไม่เจอตัวเลขตรงๆ ที่ไหนเลย แต่เว็บไซท์ […]