All posts tagged: risk management

เตรียมตัวพบกับ Basel III

ประสพการณ์จากวิกฤตสถาบันการเงินที่เริ่มต้นในปี 2007 ชี้ให้เห็นจุดอ่อนของข้อบังคับว่าด้วยการดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำของสถาบันการเงิน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Basel II ว่ายังไม่สามารถป้องกันวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งในปี 2009 Basel Committee ก็ได้ปรับปรุงข้อบังคับไปแล้วหลายอย่างในส่วนที่เกี่ยวกับบัญชีเพื่อการค้า เช่นการเพิ่มน้ำหนักความเสี่ยงสำหรับธุรกรรมการเงินที่ซับซ้อน (securitization, resecuritization) การให้คำนวณ stressed Value at Risk (stressed VaR) และ Incremental Risk Charge (IRC) เป็นต้น ปลายปี 2009 ที่ผ่านมา Basel Committee ได้เสนอที่จะปรับปรุง Basel II ในหลายด้าน หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดคือการเพิ่มข้อจำกัดด้านการรักษาสภาพคล่อง นอกเหนือไปจากข้อจำกัดด้านการดำรงเงินกองทุน (เนื่องจากปัญหาด้านสภาพคล่อง เป็นปัจจัยหลักให้เกิดวิกฤตปี 2007) ขั้นตอนต่อไปคือการรวบรวมความเห็นต่อการปรับปรุงนี้ จากธนาคารและองค์กรควบคุมในประเทศต่างๆ และการศึกษาผลกระทบ (quantitative impact study) ก่อนที่คณะกรรมการจะออกข้อบังคับใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นภายในปี 2010 นี้เอง ถึงแม้จะประมาณกันว่า ธนาคารจะมีเวลาอย่างน้อยถึงปี 2012 ที่จะปรับตัวเพื่อทำตามข้อบังคับใหม่นี้ […]

ธนาคารจีนต้องเพิ่มทุน…ก็แน่ล่ะครับ

วันนี้หุ้นตก เป็นผลจากหลายๆ ปัจจัยตลาด อันหนึ่งที่พูดถึงกันเยอะคือการที่ธนาคารของจีนหลายแห่งมีทีท่าว่าจะเพิ่มทุน ถ้าดูจาก Capital Adequacy Ratio (CAR) ก็ไม่น่าแปลกใจ ตัวเลขในตารางด้านล่างนี้ (จาก The Business Insider) แสดงอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 (Tier 1 capital) ต่อสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งมีระดับต่ำลงมากภายในเวลาเพียง 6 เดือน ซึ่งเกิดจากการปล่อยสินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างหนัก (เพิ่มสินทรัพย์เสี่ยง) ปัจจุบันธนาคารกลางจีนกำหนดให้ Tier 1 ratio ต้องไม่ต่ำกว่า 7% และ Total capital ratio ต้องไม่ต่ำกว่า 10%

ปฏิรูประบบการจ่ายโบนัสในธนาคาร

เรายังถกเถียงกันอยู่ ว่าอะไรคือสาเหตุหลักของวิกฤตทางการเงินซึ่งเริ่มต้นในปี 2007 และจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก แต่หนึ่งปัจจัยที่ชัดเจน คือการ take risk มากเกินไปของธนาคารหลายแห่ง   ตัวอย่างหนึ่งคือ ดอกเบี้ยที่ต่ำ ราคาบ้านที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และการใช้จ่ายเกินตัวในสหรัฐ เป็นแรงจูงใจให้ธนาคารปล่อยกู้โดยไม่พิจารณารอบคอบ และโดยคิดว่ารับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ (จากการปล่อยกู้) ก็สามารถขายความเสี่ยงออกไปได้ด้วยเครื่องมือทางการเงินเช่น CDO สุดท้ายความเสี่ยงในระบบโดยรวมก็มีมากเกินไป และเมื่อปัจจัยภายนอกเปลี่ยน (ฟองสบู่แตก) ทั้งระบบก็ปั่นป่วน   นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น   การที่ธนาคารทำแบบนี้ หรือจะพูดให้ชัดคือ การที่พนักงานธนาคารทำแบบนี้ ก็เพราะการ “ให้รางวัลผลงานเฉพาะหน้า” ในรูปแบบของเงินเพิ่มที่สัมพันธ์กับผลงาน หรือโบนัสนั่นเอง เรื่องโบนัสของนายธนาคารนี่กำลังเป็นเรื่องใหญ่ในสหรัฐ ประชาชนโมโหว่านอกจากจำนวนเงินโบนัสจะมหาศาลแล้ว แม้ธนาคารที่บริหารจะขาดทุน หรือจะถูกควบกิจการ ผู้บริหารก็ยังได้โบนัสก้อนโตกันทั่วหน้า โดยอ้างว่าเป็นข้อตกลงที่อยู่ในสัญญาจ้างงานจึงไม่จ่ายไม่ได้     ในการประชุม G20 เมื่อเดือนเมษาฯ ที่ผ่านมา มีการตั้ง Financial Stability Board ขึ้นเพื่อประสานการทำงานขององค์กรควบคุม เช่น ธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับตลาดหลักทรัพย์ต่างๆ หนึ่งในคำแนะนำของ FSB ก็คือการจ่ายค่าตอบแทนอย่างเหมาะสม […]

ความล้มเหลวของการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน

Glyn Holton เป็น risk manager ที่ผมชื่นชมมากคนหนึ่ง เพราะการมองเรื่องราวได้ ขาด และลึก เมื่อสองสามวันก่อนเขากล่าวในเว็บไซท์ GlynHolton.com ว่า ตั้งแต่การบริหารความเสี่ยง (ทางการเงิน) กลายเป็นเรื่องที่ทุกคนพูดถึงหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 ทั้งรัฐบาล สถาบันการเงิน องค์การระหว่างประเทศ ได้พูดถึงการพัฒนาใหม่ๆ มากมาย มีตำแหน่งงานด้านความเสี่ยงเกิดขึ้นแทบทุกวัน แต่ผลลัพธ์จนถึงวันนี้ต้องนับว่าเป็นความล้มเหลวของทั้งวงการ เห็นชัดจากเหตุการสำคัญหลายอย่าง ที่เป็นผลจากการบริหารความเสี่ยงที่ไม่ได้ผล เช่น คดี Enron, Worldcom ฟองสบู่ตลาดหุ้นสหรัฐ ปี 2001 ปัญหา mutual fund timing Hedge fund ล้มระเนระนาด (ดูรายการที่ http://hf-implode.com กรณีที่ดังมากๆ คือ Amaranth) สินเชื่อ sub-prime ของสหรัฐ ที่ทำตลาด credit ปั่นป่วนตั้งแต่ปี 2007 กรณี Jérôme Kerviel กับ […]